5 มีนาคม 2564
Econ Digest
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแต่ละตัว จะกำหนดเงื่อนไขการส่งเบี้ย การให้ผลตอบแทน การเคลมสินไหม และเงินคืนเมื่อครบสัญญา ไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่วันแรกซื้อ ซึ่งสูตรที่ใช้คำนวณส่วนหนึ่งถูกกำหนดโดย คปภ. อาทิ อัตรามรณะไทย และพิกัดอัตราเบี้ยประกัน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนการบริหารจัดการรายได้และค่าใช้จ่ายของแต่ละบริษัทซึ่งมีตัวแปรหลักคือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ดังนั้น กล่าวได้ว่าบรรทัดฐานการออกแบบประกันแต่ละตัวจะอยู่บนมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ในแบบประกันประเภทเดียวกัน จะให้ความคุ้มครองที่ไม่แตกต่างกัน แต่ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งสร้างความแตกต่างและโดดเด่นเหนือคู่แข่ง จึงเป็นที่มาของการสร้างเสริมเติมแต่งลวดลายของผลิตภัณฑ์ที่อาจมีรายละเอียดมากมายและยากต่อการเปรียบเทียบจากมุมมองของผู้บริโภค...อ่านต่อ
...อ่านต่อ
4 มีนาคม 2564
15 กุมภาพันธ์ 2564
เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวน้อยกว่าที่คาดจากมาตรการภาครัฐที่ช่วยประคองเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวที่ร้อยละ -6.1 ซึ่งต่ำกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้ที่ร้อยละ -6.7 เล็กน้อย โดยหลักๆ แล้วเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นจากมาตรการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งที่มีเม็ดเงินใช้จ่ายผ่านโครงการดังกล่าวในไตรมาสที่ 4 ถึงร้อยละ 0.3 ของ GDP ...อ่านต่อ
9 กุมภาพันธ์ 2564
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนม.ค. 64 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดต่ำลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมากอยู่ที่ 37.2 และ 38.8 ตามลำดับ ดัชนีปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะภาวะการจ้างงานและรายได้ หลังการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.ค. 2563 เป็นต้นมา ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนกลับมาชะงักชะงันตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ถูกนำกลับมาใช้ ...อ่านต่อ
3 กุมภาพันธ์ 2564
เศรษฐกิจต่างประเทศ
การเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมากับประเทศมหาอำนาจชาติตะวันตกต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน และอาจเป็นชนวนนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ...อ่านต่อ
25 กุมภาพันธ์ 2564
เกษตรกรรม
สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2564 (มกราคม–เมษายน 2564) นับว่าไม่รุนแรง และน่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าปี 2563 พิจารณาจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่ลดลงเพียงร้อยละ 7.3 (YoY) ซึ่งเป็นการลดลงเฉพาะในภาคตะวันตกเท่านั้น ขณะที่ภาคอื่นๆ ยังมีปริมาณน้ำในเขื่อนมากกว่าปีก่อน ...อ่านต่อ
อุตสาหกรรม
23 กุมภาพันธ์ 2564
การค้า
เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขส่งออกในเดือนม.ค. 2564 ขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่องจากเดือนก่อน และเมื่อหักทองคำออกขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 6.3 ซึ่งเป็นการสะท้อนความต้องการสินค้าส่งออกไทยที่มากขึ้น ...อ่านต่อ
ตลาดการเงิน
เงินบาทขยับกลับมายืนในฝั่งอ่อนค่ากว่าแนว 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลางความหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลงบางส่วนในระหว่างสัปดาห์ตามสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินจากถ้อยแถลงของประธานเฟด แต่เงินบาทก็กลับมาอ่อนค่าอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่บันทึกยอดขาดดุลในเดือนม.ค. ที่ผ่านมา...อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2564
เงินบาทขยับอ่อนค่า แต่ฟื้นตัวได้บางส่วนปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงแรก ก่อนจะเริ่มอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าลงได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากกรอบขาขึ้นของเงินดอลลาร์ฯ ถูกจำกัดลง หลังจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด ...อ่านต่อ
11 กุมภาพันธ์ 2564
สถาบันการเงิน
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เป็นเครื่องมือนโยบายการเงินแบบพิเศษ ซึ่งธนาคารกลางหลายประเทศที่เป็นแกนหลักของโลกและบางประเทศในเอเชียนำมาใช้เพื่อช่วยรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจ หลังจากที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ใกล้ระดับ 0% แล้ว โดยรูปแบบและขนาดของการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินภายใต้มาตรการ QE มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะขอบเขตของปัญหา และบริบทของระบบเศรษฐกิจการเงินในแต่ละประเทศ...อ่านต่อ